ตับ จัดเป็นอวัยวะที่คล้ายกับโรงงานใหญ่ ทำหน้าที่หรือมีปฏิกิริยาเคมีอย่างต่อเนื่องและมากมายหลายกระบวนการเลยนะ ตับนั้นสร้างหรือสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สารน้ำดี เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไกลโคเจน และบางครั้งทำหน้าที่สลายไกลโคเจนให้เป็นน้ำตาล ซึ่งจำเป็นต่อการมีชีวิต ทำให้มนุษย์เราสามารถทนต่ออาการอดอาหารได้เป็นเวลาหลายวัน เพราะมีไกลโคเจนสะสมไว้มากในตับและพร้อมที่จะสลายเป็นน้ำตาลกลูโคส ยามที่ร่างกายต้องการ
ในผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง สาเหตุหนึ่งเกิดมาจาก ตับ ที่ทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับส่วนต่างๆของร่างกายทำหน้าที่บกพร่อง เนื้อเยื่อของตับจะมีลักษณะเมือกๆ เป็นเนื้อเยื่อเหลวคล้ายแมงกะพรุน เมื่อการทำงานของตับที่ผิดปกติก็จะทำให้กระบวนการผลิตกลูโคสไม่ดี ร่างกายขาดพลังงานสำรอง คล้ายๆการทำงานของแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ที่เมื่อเสื่อมคุณภาพก็ไม่สามารถเก็บพลังงานได้ ตับก็เช่นกันเมื่อไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจนเพื่อสะสมไว้ได้ ร่างกายก็ไม่มีพลังงานสำรอง เป็นที่มาของอาการ อ่อนเพลียเรื้อรังในที่สุด
ผู้ที่มีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง มักมีอาการที่อยู่ๆก็เกิดไม่มีแรง ไม่อยากทำกิจกรรมอะไร หรือออกไปไหน ไม่อยากลุกออกจากที่นอนทั้งๆที่ก็พักผ่อนมาทั้งคืน ร่างกายอ่อนเปลี้ย และไม่มีอารมณ์ในการทำกิจกรรมใดๆเลย
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังอาจมีอาการร่วมของ ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยนะ เนื่องจากกลไกการดูดซึมแคลเซียมของกล้ามเนื้อไม่ทำงาน กล้ามเนื้อดูดซึมแคลเซียมไม่ได้นั่นเอง
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มจุลชีพโปรไบติก บางกลุ่ม สามารถเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลไกการทำงานของตับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตไกลโคเจนที่เป็นพลังงานสำรอง ช่วยให้ตับกลับมาทำงานได้เป็นปกติ จุลชีพกลุ่มนี้จะเข้าไปทำงานที่ตับโดยตรงเมื่อเนื้อเยื่อตับกลับมาทำงานเป็นปกติ สามารถจ่ายพลังงานให้กับร่างกายได้ ร่างกายจึงสดชื่นกระปรี่กระเปร่าขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้กระบวนการดูดซึมแคลเซียมของกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย