ลักษณะสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้ คือ มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็น ๆ หาย ๆ โดยมักจะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ที่ตา ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก ต่อมาอาจมีอาการอ่อนแรงทั่ว ๆ ไป กลืนลำบาก สำลัก ถ้าเป็นมากอาจถึงกับหายใจไม่ได้ ชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดในผู้ใหญ่ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะพบในเพศชายมากกว่าหญิง
สาเหตุ
- พบแอนติบอดี้จับรีเซฟเตอร์ถึงร้อยละ 85-90 ของผู้ป่วยมัยแอสทีเนียกราวิส
- พบการส่งต่อโรคมัยแอสทีเนียกราวิส โดยปริยาย (passive transfer) เมื่อฉีดซีรัม และ IgG จากคนเป็นมัยแอสทีเนียกราวิสให้แก่สัตว์
- มัยแอสทีเนียกราวิส พบบ่อยว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางออโต้อิมมูน เช่น รูมาตอยด์ SLE
- ทารกที่มีแม่เป็นมัยแอสทีเนียจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อชั่วคราว
- ตรวจพบว่าต่อมธัยมัสมี hyperplasia เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยมัสแอสทีเนียกราวิส
อาการ
- ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต มักจะเป็นตอนบ่ายหรือเย็นซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้ ได้ทำงานมาตลอดทั้งวัน แล้วหลังจากได้พักผ่อนแล้วรุ่งเช้าก็จะดีขึ้น
- กล้ามเนื้อแสดงสีหน้า เคี้ยวอาหาร กลืน และพูดทำให้หน้าห่อเหี่ยว ไร้แวว เคี้ยวลำบาก กลืนลำบาก สำลักได้ง่าย จะสังเกตได้จากตอนเช้า ผู้ป่วยกระปรี้กระเปร่า พอตกเย็นก็จะมีอาการอ่อนแรงชัดเจน พูดเสียงเบาขึ้นจมูก เวลายิ้ม ทำได้แค่ริมฝีปากเผยอ
- กล้ามเนื้ออื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อ คอ ไหล่ สะโพก พบน้อย ถ้าถูกกระทบผู้ป่วยต้องการพักนาน อาการแขนขาอ่อนแรง จะดีขึ้นเมื่อได้พัก ผู้ป่วยมักจะทรงศีรษะให้ตรงได้ยาก กล้ามเนื้อหายใจ เช่น กระบังลม ผนังทรวงอกอ่อนแรง จะทำให้การระบายอากาศบกพร่อง ลำบากในการหายใจลึกๆ และไอ ดังนั้น จึงเป็นเหตุเสริมให้เกิดปอดแฟบและปอดคั่งนํ้าได้
คำแนะนำ: รับประทานโปร 2 + โปร 7
โปร 2 ช่วยเรื่องการจัดการระบบ Auto Immune
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/ProbioticByProLife/
หรือสั่งซื้อสินค้าโดยตรงได้ที่
Line ID; @ovp0980m